ข้อดีและประโยชน์ของการไปเรียนมัธยมที่แคนาดา
การไปเรียนที่โรงเรียนมัธยมรัฐบาลของแคนาดา ทางคณะครู อาจารย์ จะให้ความช่วยเหลือ นักเรียนต่างชาติอย่างดี ไม่ว่า จะเป็นเรื่องการติวเสริมวิชาที่ไม่เข้าใจ การเลือกวิชาเรียน โดยระหว่างที่เรียนในแคนาดา นักเรียนสามารถขอความช่วยเหลือได้ตลอด เพียงเข้าหาอาจารย์และเจ้าหน้าที่โรงเรียนเพื่อให้เขาทราบว่า เราต้องการความช่วยเหลือในด้านใด การดูแลเอาใจใส่นักเรียนทั้งในเรื่องการเรียน การพักกับครอบครัวชาวท้องถิ่นก็ได้รับความดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด เสมือนการมีครอบครัวอีกครอบครัวหนึ่งในแคนาดา
นอกจากนี้ นักเรียนต่างชาติอย่างไทยเราจะได้ประสบการณ์ใหม่ๆ ที่ได้เรียนรู้การใช้ชีวิตในต่างแดน ทั้งในเรื่องการช่วยเหลือตัวเองในการแก้ปัญหาต่างๆ การเรียนรู้สิ่งใหม่ที่เมืองไทยเราไม่มี ประสบการณ์ชีวิตที่ดีเหล่านี้ จะช่วยให้น้องๆได้ยืนหยัดได้ด้วยตนเอง พึ่งพาตนเอง แก้ปัญหาเป็น และฝึกความเป็นผู้นำ ข้อดีอีกหนึ่งสิ่ง คือการไปเรียนมัธยมที่แคนาดาจะมีโอกาศได้รู้จักเพื่อนชาวแคเนเดี้ยน เพื่อนต่างชาติจากประเทศต่างๆ การเปิดใจรู้จักและสนิทสนมกับเพื่อนต่างชาติทุกมุมโลกจะเปิดหู เปิดตาและเปิดประสบการณ์ดีๆ นอกจากนี้ น้องๆจะอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีในการเรียนมัธยมที่แคนาดา เพราะผู้คนนิสัยดี อ่อนโยน และมีอัตราอาชญากรรมต่ำเพราะประชากรมีคุณภาพชีวิตที่ดี
ปีการศึกษาของการเรียนในระบบมัธยมที่แคนาดา
จะมีสองเทอม เริ่มต้นปีการศึกษาช่วงเดือนกันยายน เป็นเทอม 1 และเดือนกุมภาพันธ์ เป็นเทอม 2 ในฝั่งตะวันตกของประเทศ เช่นแถบรัฐ British Columbia และ Alberta
โดยมีเวลา 10 เดือนในการเรียน 1 ปีการศึกษา และระบบการเรียนแบ่งออกเป็น 2 แบบคือแบบ Linear และ แบบ Semester โดยทั้งสองแบบเรียน 8 วิชาต่อ 1 ปีการศึกษาเหมือนกัน ต่างกันเพียงรูปแบบการเก็บคะแนนและสอบปลายภาค
ขั้นตอนการสมัครเรียนมัธยมในแคนาดา
จะสมัครกับเขตการศึกษาและเลือกได้ 3 ลำดับของโรงเรียน 3 แห่งที่น้องๆ สนใจจะไปเรียน โดยไม่ต้องสอบเข้า เอกสารการสมัครจะมีผลการเรียนย้อนหลัง 2-3 ปี ใบรับรองจากโรงเรียนปัจจุบัน และหน้า passport ใช้การตัดสินจากเกรดเฉลี่ยที่น้องๆ เรียนมา พอได้รับตอบรับก็สมัครที่พัก homestay และทำวีซ่า เพื่อเดินทางไปเรียนมัธยม
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
Prapha Jiravessayakul (P’Pa)
Education Counselling Manager
Direct Mobile No. : 086-426-3646 หรือคลิกปุ่ม
Line ID : @learningcurve หรือคลิกปุ่ม
Line@Learning Curve